Search Tire

Categories of Tires


Statistic
 วันนี้
181 คน
 เมื่อวาน
472 คน
 เดือนนี้
2,007 คน
 เดือนที่แล้ว
12,970 คน
 ปีนี้
58,080 คน
 ปีที่แล้ว
188,292 คน
บทความทั้งหมด


ความรู้เกี่ยวกับป้ายทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถแต่ละประเภท

ความรู้เกี่ยวกับป้ายทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถแต่ละประเภท

 

ป้ายทะเบียนรถยนต์แบบใหม่ (1 เมษายน)

หลัง จากได้รับป้ายรถยนต์แบบใหม่เมื่อต้นปี (1 เมษายน) แบบที่ว่านั้นเราจะเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน เป็นแบบที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในแง่ลบ คือแทนที่จะเปลี่ยนแล้วดีขึ้นกลับแย่กว่าเดิม เพราะกรมขนส่งทางบกได้ออกแบบให้ป้ายทะเบียน มีขนาดยาวขึ้น รูปแบบตัวอักษรเปลี่ยนไป และมีขนาดเล็กลง เปลี่ยนชื่อจังหวัดจากชื่อเต็มๆ มาใช้ตัวอักษรย่อ ซึ่งทำให้อ่านหรือจำป้ายทะเบียนได้ยากขึ้น เพราะต้องมานั่งเดาชื่อจังหวัด และตัวอักษรแบบใหม่นั้นเทียบกับแบบเก่าแล้ว แบบเก่าอ่านได้จากระยะไกลได้ดีกว่า ถ้าพูดถึงในด้านกราฟฟิก คือแบบเก่ามี legibility ดีกว่า เมื่อถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรมขนส่งทางบก จึงตัดสินใจแก้แบบให้ดีขึ้น ถูกหลักการ ตรงตามเกณฑ์การออกแบบป้ายจราจรที่ดีมากขึ้น โดยได้เริ่มนำมาใช้แล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา

ป้ายทะเบียน (ปัจจุบัน) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทำจากอะลูมิเนียม พื้นป้ายมีลักษณะสะท้อนแสง ตัวอักษรและตัวเลขจะถูกปั๊มนูนออกจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียนด้วยเช่นกัน ขนาด 15x34 มี 2 บรรทัด บรรทัดแรก เป็นตัวอักษรประจำหมวดที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดที่สอง และ หมายเลขทะเบียน บรรทัดที่สอง เป็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด ลักษณะของตัว อักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด และขอบแผ่นป้าย อัดเป็นรอยดุน ตัวอักษรประจำหมวด และหมายเลขทะเบียนกว้างไม่น้อยกว่า 3.5 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 6.2 ซม. ชื่อจังหวัดใช้ตัวเต็ม กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 2 ซม. ในแผ่นป้ายมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลม อัดเป็นรอยดุนที่มุมล่างขวา ของแผ่นป้าย สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ตัวอักษรประจำหมวด ใช้ตัวอักษรไทยมาตรฐาน โดยตัวแรกเป็นตัวบอกหมวดประเภทรถ และตัวที่ 2 เป็นตัววิ่ง ซึ่งมีจำนวน 39 ตัว หมาย เลขทะเบียนรถใช้ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 9999 ในแต่ละหมวด โดยสรุปจะมีรูปแบบเหมือนที่ใช้ในวันที่ 1 เมษายน เพียงแต่ขนาดตัวอักษรและตัวเลข จะใหญ่กว่าแบบเดิม และเปลี่ยนตัวอักษรจากตัวกราฟฟิก มาใช้แบบมาตรฐานทำให้อ่านง่ายชัดเจนขึ้น สี พื้นของแผ่นป้าย สีตัวอักษร ตัวเลข และสีขอบบนของแผ่นป้ายจะมีรูปแบบเหมือนเดิมที่ใช้ในวันที่ 1 เมษายน
เว้นแต่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง ในอดีตการจะขอหรือจะต่อป้ายทะเบียนรถของพลเมืองชาวเบตงต้องเข้ามาขอที่ จังหวัดยะลา ซึ่งอำเภอเบตงอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองยะลามาก การเดินทางก็ไม่สะดวก กรมการขนส่งทางบกจึงอนุญาตให้มีการจดทะเบียนรถที่เบตงได้โดยให้มีป้าย ทะเบียนรถเป็นของตัวเอง ซึ่งก็เป็นป้ายทะเบียนเดียวที่ไม่ใช่ระดับจังหวัด แต่เป็นระดับอำเภอที่เดียวของประเทศไทย นั่นคือให้มีป้ายทะเบียนเบตงนั่นเอง

ประเภทของป้ายทะเบียนนั้นสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้งานรถได้ ดังนี้

ป้ายเหลืองอักษรแดง คือ ป้ายรถรับจ้างระหว่างจังหวัด

ป้ายเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายรถรับจ้าง

ป้ายเหลืองอักษรเขียว คือ ป้ายรถตุ๊กตุ๊ก

ป้ายเหลืองอักษรฟ้า คือ ป้ายรถกระป๊อ

ป้ายเขียวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์บริการธุรกิจ

รถยนต์บริการทัศนาจร และรถยนต์บริการให้เช่า

ป้ายขาวอักษรฟ้า คือ

ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

ป้ายขาวอักษรเขียว คือ ป้ายทะเบียนกระบะ

ป้ายขาวอักษรดำ คือ

ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

ป้ายขาวอักษรแดง คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อ

ป้ายแสดอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถพ่วง รถบดถนน

รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม


สำหรับป้ายทะเบียนรถอีกประเภทหนึ่งคือป้ายทะเบียนกราฟิก ซึ่งมีขึ้นภายหลังป้ายทะเบียนแบบปกติ ป้ายทะเบียนนี้จะมีพื้นหลังเป็นรูปภาพ สำหรับเลขทะเบียนรถที่มีลักษณะพิเศษ (เลขสวย) เช่น ฌร 9999 ซึ่งเลขทะเบียนเหล่านี้จะถูกเปิดประมูลโดยกรมการขนส่งทางบก ป้ายทะเบียนชนิดนี้จะมีภาพพื้นหลังป้าย ที่สื่อถึงจังหวัดนั้นๆ เช่น กรุงเทพมหานคร จะมีรูปวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานพระราม 8 เป็นพื้นหลัง เป็นต้น ปัจจุบันมีการเปิดประมูลป้ายทะเบียนกราฟิกเฉพาะที่เป็นทะเบียนของรถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูล,รูปภาพจาก http://www.toyotanon.com,http://th.wikipedia.org,http://www.dek-d.com

ยางรถยนต์,ป้ายทะเบียนรถยนต์,ป้ายทะเบียน
<<ก่อนหน้า ถัดไป>>
Facebook Twitter Google Digg Reddit LinkedIn Pinterest StumbleUpon Email